03 พฤศจิกายน, 2552

การใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์


คู่มือการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี มีจุดประสงค์

1. เพื่อให้ผู้บริหาร ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
2. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นให้คุ้มค่า และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร
3. เพื่อให้ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ได้นำแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่มีคุณค่ามาใช้จัดการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความภูมิใจและรักความเป็นไทย



























ความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์



ความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์  ได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย ให้สอดคล้องกับหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แสดงให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ดังนี้


1. ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยวกับขอบเขตของคนอื่น
2. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษย์ชาติ ความรู้ ความคิดกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้
3. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อนได้
4. ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุข พัฒนาการของสังคมมนุษย์จากความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์